กรมการค้าภายใน
home
ตัวอักษรขนาดเล็ก ตัวอักษรขนาดปกติ ตัวอักษรขนาดใหญ่ TH ปกติ ขาวพื้นดำ เหลืองพื้นดำ
Facebook line@ MR.DIT Youtube Rss login TH TH EN
img_BannerMain
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9
นโยบาย
-      ส่งเสริมการค้าเสรีในระบบตลาดสินค้าเกษตร ให้กลไกตลาดเป็นตัวปรับ อุปสงค์และอุปทานสินค้า และแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างเสถียรภาพของราคาและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร
-      ส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตรให้มีประสิทธิภาพและเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
-      พัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีขีดความสามารถด้านการตลาด สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง และลดภาระการช่วยเหลือของรัฐลง
 มาตรการ
-      ติดตามและประเมินสถานการณ์ สร้างระบบเตือนภัย รวมทั้งเสนอมาตรการในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้า
-       ศึกษาวิเคราะห์ภาวะการผลิตและการค้า และผลกระทบของข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่มีต่อการค้าสินค้าเกษตรในประเทศ
-       ดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือประสานการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำในช่วงต้นฤดูด้วยการ 
-       จัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าเพื่อระบายสินค้าด้วยการจัดตลาดนัด ประสานผู้ผลิตให้เข้ารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง และจัดงานจำหน่ายสินค้า เป็นต้น
-      รวมกลุ่มเกษตรกรจำหน่ายผลผลิตในท้องถิ่น เพื่อช่วยลดภาระค่าขนส่งแก่เกษตรกร
-      ใช้กลไกกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของสินค้าแต่ละชนิด เช่น การรับจำนำ การซื้อเก็บสต๊อคช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว หรือช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด การจ่ายชดเชยราคาเพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาตามเป้าหมายนำหรือการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางการตลาด เป็นต้น
-      จัดระบบสินค้าเกษตรกลุ่มที่มีโครงสร้างราคาเกี่ยวโยงกัน โดยใช้กลไกต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมพิเศษการนำเข้า การกำหนดโควต้าและอัตราภาษีนำเข้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง กำกับและตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการค้าข้าวและกฎหมายว่าด้วยการสำรวจและห้ามกักกันข้าว
-       ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาระบบและรูปแบบของตลาดสินค้าเกษตร
-      ส่งเสริมภาคเอกชนในการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ตลาดกลางข้าวและพืชไร่ ผักและผลไม้ ปศุสัตว์และสัตว์น้ำ ให้กระจายตัวไปในแหล่งผลิต
-      รวมทั้งพัฒนาตลาดกลางในความส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้มีระบบการซื้อขายแบบประมูล จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการตลาดที่สมบูรณ์ เป็นต้น
-       ดำเนินการจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนการผลิต ขจัดความเสี่ยงและความผันผวนในด้านราคาสินค้า รวมทั้งการวางระบบ และติดตามดูแลการซื้อขายสินค้าเกษตรในตลาดซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
-       ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า ด้วยการสนับสนุนให้มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรระดับโรงงาน ประสานและสร้างความเข้มแข็งของระบบการผลิตวัตถุดิบแบบมีสัญญาข้อตกลงระหว่างเกษตรกรและโรงงาน และดูแล สัญญาให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
-       สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร โดย 
               - จัดประกวดคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรและผู้ค้าให้ความสนใจปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสินค้า 
               - ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกรจัดหาอุปกรณ์ในการพัฒนาคุณภาพสินค้า เช่น เครื่องอบลดความชื้น เครื่องมืออุปกรณ์ในการแยกชั้นคุณภาพ โดยรัฐสนับสนุนสินเชื่อในการดำเนินการ 
               - เสริมสร้างศักยภาพด้านการตลาดแก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงด้วยการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่เกษตรกร

 


ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2559
ที่มา