ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 0-3 นครปฐม

นายวัชรพงษ์ ชัยโชตกิจ

หัวหน้าสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 0 - 3 นครปฐม

  คลังความรู้  
ประวัติการชั่งตวงวัดของประเทศไทย

ประวัติการชั่งตวงวัดของประเทศไทย

 

        ประเทศไทยรู้จักใช้วิธีชั่งตวงวัดกันอย่างแพร่หลายมาแต่โบราณกาล วิธีที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่วิธีของไทย ของจีน และของฝรั่ง ซึ่งมีพิกัดอัตราไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อความเจริญในการค้าขาย

 

 

พ.ศ.๒๔๔๐ 

       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) มีพระราชปรารภที่วางระเบียบการชั่งตวงวัดให้เป็นหลักฐาน จึงตกเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรพาณิชย์ในการวางระเบียบในเรื่องนี้ ซึ่งพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้คิดที่จะใช้มาตราเมตริกเมื่อ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ
 

 

พ.ศ. ๒๔๔๔
        เจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้รวบรวมเอาเฉพาะการตวงขึ้นมาพิจารณา เพราะเหตุว่าประเทศสยามมีสินค้าข้าวที่จะต้องตวงซื้อตวงขายเป็นสินค้าสำคัญจึงได้ร่างพระราชบัญญัติอัตราตวงขึ้นมา ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการชั่งและการวัด

 

พ.ศ. ๒๔๔๕
        รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มมาตราการชั่งและวัดเข้าด้วย เจ้าพระยาอภัยราชา(Mr. Rolin Jacquemyns) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน กับนายชเลสเซอร์ ที่ปรึกษากฎหมาย ได้ร่าง ."พระราชบัญญัติวัดตวงและชั่ง" ร. ศ. ๑๑๙ ขึ้นใหม่ โดยบัญญัติให้ใช้เป็นวิธีเมตริก

 

 

พ.ศ. ๒๔๔๘
        รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าควรใช้มาตราชั่งตวงวัดวิธีใดจึงจะเหมาะ และคณะกรรมการได้ถวายรายงานกราบบังคมทูลว่า ควรใช้วิธีเมตริกเป็นแบบเดียวกัน
 

พ.ศ. ๒๔๕๒
        ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลว่าเห็นควรที่ประเทศสยามจะเข้าร่วมในอนุสัญญาระบบเมตริก(Metre Convention) และกระทรวงเกษตรธิการจึงเริ่มทำการติดต่อกับสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศในเรื่องการขอเข้าเป็นสมาชิก

 

 
พ.ศ. ๒๔๕๔
        รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้า ให้เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เสนาบดี กระทรวงพระคลัง และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ประชุมปรึกษากัน ทำความเห็นในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมทูลเกล้าฯ ถวายรายงานความเห็น ว่าควรรับแบบวิธีเมตริกมาใช้
 

พ.ศ. ๒๔๕๕
        ประเทศไทยได้แจ้งความจำนงที่จะขอเข้าเป็นสมาชิกไปยังสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าเป็นสมาชิกในปีนั้น

 

 
พ.ศ. ๒๔๖๖
        รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดของประเทศ และในปีถัดมา ได้มีการออกกฎเสนาบดีฉบับแรกขึ้นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
 

พ. ศ. ๒๕๓๘
        ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (International Organization of Legal Metrology, OIML)

 
พ.ศ. ๒๕๔๒
        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ. ศ. ๒๕๔๒” ขึ้น และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๒๙ ก วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นมา

 

 

cialis coupons online printable coupons for cialis free cialis coupon
neurontin cena tymejczyk.com neurontin alkohol
จำนวนผู้เข้าชม 770 ครั้ง
 
สงวนลิขสิทธ์ 2559 โดย กรมการค้าภายใน
เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ : นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิดชอบ