นายสัญชัย พระธานี

ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับดูแลและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า


ดาวน์โหลด

คลังความรู้

ข่าวประชาสัมพันธ์

การคุ้มครองผู้บริโภค

 การคุ้มครองผู้บริโภค

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า โทร.1569,622-2420-3   E-mail address ; compro@dit.go.th  

        กระทรวงพาณิชย์  มีนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา ปริมาณ และคุณภาพ  โดยกำกับดูแลให้สินค้ามีเพียงพอแก่ความต้องการ  และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมภายใต้นโยบายการค้าเสรี  ทั้งนี้โดยอาศัยกลไกสำคัญ 3  มาตรการ  เพื่อควบคุมราคาสินค้า  ดังนี้.-

          1. มาตรการด้านบริหาร  โดยเชิญผู้ผลิต  ผู้นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญมารับทราบนโยบายการดูแลและขอความร่วมมือในกรณีที่จะมีการปรับเปลี่ยนราคาสินค้าให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาพร้อมโครงสร้างต้นทุนและข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ให้กรมการค้าภายในพิจารณาล่วงหน้า 15 วันทำการ ก่อนสินค้าออกจำหน่ายตลอดจนทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของราคาโดยจะพิจารณาปรับราคาสินค้าสูงขึ้นหรือลดลงให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนโดยเฉพาะต้นทุนจากวัตถุดิบและผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน  รวมตลอดถึงการให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบดูแลภาวะราคาสินค้าเป็นประจำและติดตามพฤติกรรมการค้าของผู้ประกอบการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผลสมควรหรือกักตุนสินค้า  รวมถึงจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้าขึ้นเพื่อสอบข้อเท็จจริงและดำเนินคดีผู้กระทำผิดที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

          2. มาตรการด้านกฎหมาย  ควบคุมดูแลราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพหรือสินค้าที่มีการแข่งขันน้อยราย  โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522  ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ  22  รายการ  ( เช่น  นมผง  นมข้นหวาน  ผงซักฟอก  น้ำมันเชื้อเพลิง อาหารที่ปรุงแต่งแล้ว ปุ๋ย เครื่องแบบนักเรียน  น้ำดื่มบรรจุภาชนะ  ฯลฯ ) เป็นสินค้าควบคุมโดยมีมาตรการในการดำเนินการต่างๆ  เช่น  ให้ปิดป้ายราคาแสดงราคาขายปลีกสินค้าควบคุมและห้ามจำหน่ายเกินราคาที่แสดง กำหนดราคาขายสูงสุด(น้ำตาลทรายและก๊าซหุ้งต้ม)  ให้แจ้งปริมาณ  สถานที่เก็บ และควบคุมการขนย้าย ( เหล็กเส้น น้ำตาลทราย  และน้ำมันปาล์ม ) ซึ่งในการปฏิบัติกระทรวงพาณิชย์ได้เข้มงวดกวดขันตรวจสอบปราบปรามจับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมาย  เช่น  ไม่ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่าย   ขายเกินราคาควบคุม ปฏิเสธการจำหน่าย  กักตุนสินค้า  หรือฉวยโอกาสขึ้นราคาโดยไม่มีเหตุผลสมควร  ซึ่งในปี  2540-2541  ได้จับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดดังกล่าวไปแล้วกว่า  400  ราย

          3. มาตรการด้านการตลาด  เป็นมาตรการเสริม  เพื่อแก้ไขปัญหาด้านราคาสินค้าแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้วยการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายการแข่งขันและขจัดการผูกขาด  โดยดูแลให้มีการกระจายสินค้าอย่างสม่ำเสมอและประสานผู้ผลิตในการขายตรงแก่ผู้บริโภคในกรณีที่ตลาดมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์หรือเกิดการผูกขาดในพื้นที่ เช่น  การจัดโครงการธงฟ้า-ราคาประหยัด  เพื่อเพิ่มจำนวนผู้จำหน่ายอาหารสำเร็จรูปให้มีมากขึ้นเพียงพอกับความต้องการและผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อหาอาหารสำเร็จรูปในราคาประหยัด  และโครงการงานคาราวานตลาดนัดสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ  เพื่อเพิ่มการแข่งขันในบางพื้นที่บางเวลาอันจะเป็นการลดแรงกดดันในการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าเอาเปรียบประชาชนที่อยู่ห่างไกลตลาด  เป็นต้น           ทั้งนี้ในส่วนของการควบคุมดูแลราคาสินค้าหลังใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะสินค้าที่นำเข้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบนำเข้านั้น  กระทรวงฯ ได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับราคาสูงขึ้น  หรือดำเนินการให้ปรับลดราคาลงตามค่าเงินที่เปลี่ยนแปลง  ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบันค่าเงินบาทได้แข็งขึ้นอยู่ในระดับ  37-38 บาท/ดอลล่าร์  กระทรวงฯ ได้พิจารณาทบทวนปรับลดราคาสินค้าที่ได้อนุมัติปรับราคาสูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปแล้วลงกว่า 39 รายการ  เช่น  นมผง  ยาสีฟัน  ผงซักฟอก  แชมพูสระผม  ปุ๋ยเคมี  ยารักษาโรค  ฯลฯ สำหรับแนวทางการติดตามดูแลราคาสินค้าในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจกระทรวงฯ จะกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง  เพื่อให้สินค้ามีเพียงพอ  ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่เป็นธรรมและได้รับผลกระทบน้อยที่สุด  ขณะเดียวกันก็ต้องให้โอกาสและความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจอยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยและขาดสภาพคล่อง  

ผู้บริโภค : ร้องเรียนอย่างไรให้ได้ผล  

          นับวันสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น  มีความสลับซับซ้อนของปัญหาหลายระดับไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคในเมือง  หรือตามชนบทและระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค  ซึ่งมีศักยภาพต่างกัน  โดยผู้ผลิตสามารถสร้างเงื่อนไขอยู่เหนือผู้บริโภคได้ตลอดเวลา  แต่ในขณะเดียวกันผู้บริโภคยังแยกกันอยู่อย่างกระจัดกระจาย  ขาดการรวมกลุ่มกันเป็นพลังในการร้องเรียน  เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระดับส่วนตัวและส่วนรวมอย่างเข้มแข็ง  เพื่อมาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวรณรงค์กิจกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค  ตลอดจนมิได้ทำหน้าที่ให้ความเห็นในด้านการร้องเรียน  เพื่อแก้ไขปัญหาแต่อย่างใดการเป็นผู้บริโภคที่ดีควรสร้างทัศนคติใหม่ทางสังคมให้เห็นคุณค่าของสิทธิที่ตนมีอยู่  ให้ตระหนักรู้ว่าทุกคน  คือผู้บริโภคที่รู้จักพิทักษ์สิทธิของตนเองไม่เอาเปรียบผู้อื่นและร่วมกันพิทักษ์สิทธิของผู้อื่น  เสมือนพิทักษ์สิทธิของตนเองด้วยในการซื้อสินค้าและบริการ แม้จะได้รับความคุ้มครองอันพึงมีตามกฎหมายแต่เพื่อรักษาไว้ซึ่ง  “ สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค ผู้บริโภคยังมีหน้าที่อันพึงปฏิบัติด้วย  เช่น

          1. ตรวจสอบหรือตกลงราคาก่อนใช้บริการทุกครั้ง  หากไม่มีป้ายราคาควรสอบถามราคาให้ชัดเจนก่อน
          2. หากร้านใดไม่ติดป้ายราคาหรือไม่แจ้งอัตราค่าบริการแสดงถึงเจตนาแอบแฝงควรหลีกเลี่ยงไม่ซื้อร้านนั้นทันที
          3. สมควรที่จะเปรียบเทียบราคา  ปริมาณของสินค้าชนิดเดียวกันหลายๆ ยี่ห้อก่อน ตันสินใจซื้อ
          4. เปรียบเทียบราคาจากแหล่งที่มาของสินค้านั้นๆ  หากไม่ทราบให้สอบถามจากผู้รู้
หรือผู้ที่อยู่ในแหล่งสินค้านั้น
        5.    หมั่นตรวจสอบข้อมูลบนฉลากสินค้าให้ชัดเจนทุกครั้งและสินค้าบางประเภทควรมีเครื่องหมายรับรองอย่างถูกต้อง
          6.  ตรวจสอบสินค้าให้ตรงตามใบเสร็จทุกครั้งก่อนชำระเงิน
          
7.  สังเกตข้อมูลการผลิต  วันหมดอายุสำหรับสินค้าบางประเภท
          
8.  ควรซื้อสินค้าจากร้านประจำที่ไว้ใจได้
          9.  อย่าห่วงการ 
Promotion ในเรื่องลด  แลก  แจก  แถม  จนลืมประโยชน์ที่แท้จริง   
         10. ไม่ควรซื้อสินค้าอย่างรีบร้อนและด่วนในการตัดสินใจ                               
        11. เปรียบเทียบอายุการใช้งาน  ดูที่การประหยัดพลังงานและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
        12. สอบถามตัวเองทุกครั้ง  ว่าสินค้าที่กำลังจะซื้อถูกใจหรือมีความจำเป็นต่อชีวิตหรือไม่
          นอกเหนือจากการมีหน้าที่ในการรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองแล้ว  การมีส่วนร่วมโดยใช้สิทธิในการร้องเรียนแจ้งข่าวความไม่เป็นธรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อพบการกระทำผิดเกี่ยวกับราคาสินค้าหรือบริการก็เป็นหน้าที่หนึ่งของผู้บริโภคเช่นกัน การร้องเรียนเพื่อร้องเรียนความเป็นธรรมของผู้บริโภคกระทำได้หลายวิธี  เช่น การแจ้งทางโทรศัพท์  การทำเป็นหนังสือร้องเรียนหรือไปร้องเรียนด้วยตนเองที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและร้องเรียนทาง  INTERNET  หรือ  E-mail  แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในการร้องเรียน  ก็คือการร้องเรียนอย่างไรให้ได้ผลและนำไปสู่การแก้ไข  มีข้อแนะนำดังนี้.-

          1.  ผู้บริโภคควรมีความรู้สึกที่จะปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเองอย่างแน่วแน่  ไม่คิดว่าการร้องเรียนเป็นเรื่องยุ่งยาก  หรือทำให้ต้องเสียเวลา  เช่น
                   
*  ต้องมีความตระหนักอย่างจริงจัง  ตื่นตัว  และพยายามตั้งคำถามเสมอ
                     
เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและบริการที่ใช้อยู่ทุกวัน                            
          
                   * ผู้บริโภคต้องแสดงออกเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้รับการช่วยเหลืออย่าง
                     
เป็นธรรมหากตราบใดที่ผู้บริโภคดำรงตนเป็นพลังเงียบผู้บริโภคก็ยังคง
                     
ต้องถูกเอารัดเอาเปรียบอีกต่อไป
                   * ผู้บริโภคต้องสนใจต่อความเป็นไปในสังคม  ต้องคำนึงถึงความบริโภคของ
                     
ตนเองด้วยว่าจะมีผลกระทบต่อบุคคลอื่นกลุ่มต่างๆอย่างไรหรือไม่ 
  
                     โดยเฉพาะต่อผู้ด้อยโอกาสในสังคม  ทั้งในระดับท้องถิ่นระดับประเทศและ
                      ระดับสากล  
                   *  ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทำความเข้าใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอัน
                     
สืบเนื่องมาจากการบริโภคผู้บริโภคพึงมีความรับผิดชอบทั้งต่อบุคคลและ
                     ต่อสังคมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเพื่อคนรุ่น
ต่อไป
                      *  ต้องสามัคคี พึงรวมตัวกันและจัดตั้งเป็นกลุ่มแล้วพัฒนาให้เข้มแข็งและ
                      
เพื่อให้เกิดพลังในอันที่จะส่งเสริมและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้
                    
บริโภค

          2. กำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการร้องเรียน  เช่น  ต้องการให้ชดใช้ค่าเสียหายต้องการให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขวิธีปฏิบัติใหม่ เป็นต้น  ในกรณีนี้ผู้ร้องเรียนควรจะทราบว่าเรื่องที่จะต้องร้องเรียนเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือไม่  อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายใด  หรือต้องการร้องเรียนในเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของสังคมหรือหลักจริยธรรมเท่านั้น
       3. ศึกษาถึงหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องที่จะต้องร้องเรียนคือหน่วยงานใด  ขั้นตอนในการร้องเรียนเป็นอย่างไร  จะร้องเรียนในวิธีการใดได้บ้าง  เช่น  ร้องเรียนทางโทรศัพท์  ร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือต้องไปร้องเรียนด้วยตนเอง เป็นต้น
      
4. ก่อนร้องเรียนควรจะกำหนดเกณฑ์วัดที่มีมาตรฐานขึ้น  เพื่อเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจว่าเป็นเรื่องที่สมควรร้องเรียนหรือไม่  เมื่อตัดสินใจอย่างแน่นอนแล้วว่าจะร้องเรียน  ก็ควรรอให้กระบวนการร้องเรียนเป็นไปจนถึงที่สุดไม่ล้มเลิกกลางคัน  และติดตามผลการพิจารณาเรื่องที่ร้องเรียนอย่างใกล้ชิด  พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับร้องเรียนอย่างเต็มที่เพื่อให้สามารถดำเนินการให้บรรลุจุดประสงค์ของการร้องเรียนอย่างโดยเร็ว
      
5. แจ้งเรื่องรายละเอียดของเรื่องราวที่ร้องเรียนอย่างชัดเจน  ไม่คลุมเครือ  เช่น คู่กรณี  สถานที่  เวลา  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  หากมีหลักฐานประกอบการร้องเรียนก็จะเป็นประโยชน์มาก
      
6. แจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ร้องเรียนเอง  เช่น  ชื่อ  ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ 
      7. มีความมั่นใจในหน่วยงานที่รับร้องเรียนว่าจะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนไว้เป็นความลับอย่างมั่นคง  เนื่องจากปัจจุบันหลังจากที่  พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 มีผลบังคับใช้ ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความคุ้มครอง  หรือควบคุมดูแล ของหน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยได้  ในกรณีข้อมูลเรื่องร้องเรียนนี้คณะกรรมการพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของกรมการค้าภายในได้พิจารณาให้เรื่องร้องเรียนเป็นข้อมูลที่ไม่ต้องเปิดเผยตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพื่อความมั่นใจของผู้ร้องเรียน
      8. ผู้ร้องเรียนควรมีจริยธรรมในการร้องเรียนด้วย  เช่น  ไม่ร้องเรียนเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย  ร้องเรียนเพราะเสียผลประโยชน์ส่วนตัว  แต่ควรเป็นการร้องเรียนเพื่อป้องปรามมิให้ตนเองหรือสังคมโดยส่วนรวมถูกเอารัดเอาเปรียบ  

 

****************

จำนวนผู้เข้าชม 16559 ครั้ง