ดาวน์โหลด

Download

คลังความรู้

Knowledge

 
คลังความรู้
ประวัติชั่งตวงวัดไทย

 ประวัติชั่งตวงวัดไทย

 

ก่อน พ.ศ.๒๔๔๐ ประเทศไทยรู้จักใช้วิธีชั่งตวงวัดกันแพร่หลาย มาแต่โบราณกาล วิธีที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่วิธีของไทย, ของจีน และวิธีของฝรั่ง ซึ่งมีพิกัดอัตราไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อความเจริญในการค้าขาย พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) มีพระราชปรารภ ที่จะวางระเบียบการชั่งตวงวัดให้เป็นหลักฐาน จึงตกเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรพาณิชย์การในการวางระเบียบในเรื่องนี้ ซึ่งเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้คิดที่จะใช้วิธีมาตราเมตริก เมื่อ รศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) แต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จ พ.ศ.๒๔๔๔ เจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้รวบรวมเอาเฉพาะการตวงขึ้นมาพิจารณา เพราะเหตุว่าประเทศสยามมีสินค้าข้าวที่จะต้องตวงซื้อตวงขายเป็นสินค้าสำคัญจึงได้ร่าง พระราชบัญญัติอัตราตวงขึ้นมา ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการชั่งและการวัด พ.ศ. ๒๔๔๕ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มมาตราการชั่งและวัดเข้าด้วย เจ้าพระยาอภัยราชา (Mr.Rolin Jacquemyns) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน กับนายชเลสเซอร์ที่ปรึกษากฎหมาย ได้ร่าง "พระราชบัญญัติวัดตวงและชั่ง" ร.ศ.๑๑๙ ขึ้นใหม่ โดยบัญญัติให้ใช้เป็นวิธีเมตริก พ.ศ.๒๔๔๘ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาว่าควรใช้เครื่องชั่งตวงวัดวิธิใดจึงจะเหมาะ และคณะกรรมการได้ ถวายรายงานกราบบังคมทูลว่า ควรใช้วิธีเมตริกเป็นแบบเดียวกัน พ.ศ.๒๔๕๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่กัว (รัชกาลที่ ๖) เจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการได้ทำหนังสือ กราบบังคมทูลว่าเห็นควรที่ประเทศสยามจะเข้าร่วมในอนุสัญญาระบบเมตริก (Metric Convention) และกระทรวงเกษตรธิการจึงเรื่องทำการติดต่อกับสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศในเรื่องการขอเข้าเป็นสมาชิก พ.ศ.๒๔๕๔ รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดี กระทรวงมหาดไทยเสนาบดี กระทรวงพระคลัง และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ประชุมปรึกษากัน ทำความเห็นในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมทูลเกล้าฯ ซึ่งถวายรายงานความเห็น ว่าควรรับแบบวิธีเมตริกมาใช้ พ.ศ.๒๔๕๕ ประเทศไทยได้แจ้งความจำนงที่จะขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกไปยังสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าเป็นสมาชิกในปีนั้น พ.ศ.๒๔๖๖ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖" ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดของประเทศ และในปีถัดมา ได้มีการออกกฎเสนาบดีฉบับแรกขึ้น เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว พ.ศ.๒๕๓๘ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด พ.ศ.๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.๒๕๔๒" ขึ้น และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๒๙ ก วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งมีผลให้ใชับังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๒

pill to terminate early pregnancy aloeveraindia.com where to have abortion
lamisil 1 lamisil comprimidos lamisil comprimidos
จำนวนผู้เข้าชม 1573 ครั้ง
    
 
 
สำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 0-1 สุพรรณบุรี
อาคารสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขต 0-1 สุพรรณบุรี เลขที่ 9/21 หมู่ 4 สุพรรณ-บางลี่ (ถนนเลียบคลองวัดป่าฯ)
ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์ : 035-528275
อีเมล : cbwmsuphanburi@gmail.com
ขณะนี้มีผู้ออนไลน์อยู่
1
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
08691
(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559)
เว็บไซต์แสดงผลได้ดีบน Google Chrome
และรับรองการแสดงผลบน Mobile Devices
สงวนลิขสิทธ์ 2559 โดย กรมการค้าภายใน
เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ : นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ | การปฏิเสธความรับผิดชอบ